ประเพณี วันออกพรรษา
หากพูดถึงวันออกพรรษานั้นแล้ว หลายท่านคงนึกถึง การทำบุญตักบาตร ฟังธรรมเทศนา ที่วัดใกล้บ้าน และก็คงนึกถึงการตักบาตรเทโว ที่ทุกคนรู้จักในชื่อ วันเทโวโรหณะ หรือรู้จักกันในวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก มีประวัติ ดังนี้คือในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา หรือ 3เดือน ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช หรือพระอินทร์ ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร บรรดาพุทธศาสนิกชนพอทราบข่าวต่างก็มารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่างเนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ให้เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล หรือนรกภูมิ ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก โดยในวันออกพรรษานั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ในอดีตกาลดังที่จะกล่าวครับ ครั้นในอดีตที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วถึงวันเข้าพรรษาและพระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี เมื่อมีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่มากมายพระภิกษุเหล่านั้นจึงเกรงจะเกิดการขัดแย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกฏกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร) เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระเชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า
“ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุทั้งหลายผู้จำพรรษาแล้วปวารณากันในสามลักษณะ คือด้วยการเห็นก็ดี ด้วยการได้ยินก็ดี ด้วยการสงสัยก็ดี”
และได้มีหลักธรรมที่ควรปฏิบัติในวันออกพรรษา มีหลักธรรมสำคัญที่ควรนำไปปฏิบัติ คือ ปวารณา การเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ ในการปวารณานี้อาจแบ่งบุคคลออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ผู้ว่ากล่าวตักเตือน จะต้องเป็นผู้มีเมตตา ปรารถนาดีต่อผู้ที่ตนว่ากล่าวตักเตือน เรียกว่ามีเมตตาทางกาย ทางวาจา และทางใจ พร้อมมูล
ผู้ถูกว่ากล่าวตักเตือน ต้องมีใจกว้าง มองเห็นความปรารถนาดีของผู้ตักเตือน ดีใจดังมีผู้มาบอกขุมทรัพย์ให้ การปวารณา จึงเป็นคุณธรรมสร้างความสมัครสมานสามัคคีและดำรงความบริสุทธิ์หมดจดไว้ในสังคมพระสงฆ์ การปวารณา แม้จะเป็นสังฆกรรมของสงฆ์ ก็อาจนำมาประยุกต์ใช้กับสังคมชาวบ้าน เช่น การปวารณากันระหว่างสมาชิกในครอบครัว ในสถานศึกษา ในสถานที่ทำงาน พนักงานในห้างร้าน บริษัทและหน่วยงานราชการ เป็นต้น
ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย
แห่งเมืองสุโขทัย เผาเทียน เล่นไฟ พลุ ตะไล ไฟพะเนียง โคมลอยรูปดอกกระมุท ที่สุดของโคม แห่นางนพมาศ บูชาพระพุทธมหานัมมทาน วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ประชาราษฎร์กล่าวขาน ลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ ร่วมแรงศรัทธาเผาเทียนบูชาพระรัตนตรัย สว่างไสวพร้อมกัน”
พระราชพิธีจองเปรียงมีมาแต่โบราณ ช่วงสมเด็จพระร่วงเจ้า จากหลักฐานในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ได้กล่าวถึงนางนพมาศว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระร่วงเจ้า พร้อมด้วยพระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายใน เสด็จลงประพาสลำน้ำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน เพื่อทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์ นางนพมาศจึงได้ประดิษฐ์กระทงถวายเป็นรูปดอกกระมุทหรือรูปดอกบัว สมเด็จพระร่วงเจ้าพอพระทัยมาก จึงประกาศว่า “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า กษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ พระราชพิธีจองเปรียง แล้วก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท อุทิศสักการบูชาพระพุทธมหานัมมทาน ตราบเท่ากัลปาวสาน”
นอกจากนี้ในศิลาจารึกหลักที่ 1 บรรทัดที่ 14 ได้กล่าวถึงการเผาเทียนเล่นไฟว่า “…เมืองสุโขทัยนี้มีสี่ปากปตูหลวง เที้ยรย่อมคนเสียดกัน เข้ามาดูท่านเผาเทียนเล่นไฟเมืองสุโขทัยนี้มีดั่งจักแตก…” ซึ่งข้อความใยศิลาจารึกตอนนี้ นายนิคม มุสิกคามะ ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้เสนอให้จังหวัดจัดงานพลิกฟื้นประวัติศาสตร์ประเพณีลอยกระทงขึ้นให้เป็นงานระดับชาติ โดยให้ชื่องานตามคำในศิลาจารึกว่า “งานเผาเทียน เล่นไฟ” เน้นการฟื้นฟูประเพณีลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ พลุ ตะไล ไฟพะเนียง ดอกไม้ไฟชนิดต่างๆ โดยจังหวัดสุโขทัย ได้ร่วมกับกรมศิลปากร และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดงานลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๐ เรื่อยมา
ในงานลอยกระทง เผาเทียน เล่นไฟ จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มีพิธีเผาเทียนแบบโบราณ โดยเชิญชวนให้ประชาชนร่วมพิธีซื้อตะคัน เผาเทียนบูชาพระรัตนตรัยและเมื่อจุดแล้วก็ให้นำไปวางบนฐานหรือระเบียงโบสถ์วิหาร พระเจดีย์ โบราณสถานในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และผ่ายในงานยังมีการแสดงแสง สี เสียง จำลองบรรยากาศงานเผาเทียนเล่นไฟสมัยสุโขทัย ให้ผู้คนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ชื่นชมตลอดงาน
- วันเวลาการจัดงาน : วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หรือวันเพ็ญเดือน ๑๒
- สถานที่จัดงาน : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
- สถานที่จัดงาน : อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
ประเพณีทอดกฐิน
ประเพณีทอดกฐินจะทำในช่วงวันแรม ๑ ค่ำ เดือน เกี๋ยงเหนือหรือเดือนตุลาคม ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่เหนือ หรือเดือนพฤศจิกายน สมัยโบราณชาวล้านนาไม่นิยมทอดกฐินเนื่องจากว่าจะต้องใช้ปัจจัย (เงิน) ค่อนข้างมาก ผู้ที่จะถวายกฐินได้จะต้องมีฐานะดีและมีความตั้งใจจริง
เมื่อผู้ใดมีความประสงค์จะถวายกฐิน จะต้องจองกฐินที่วัด และบอกแก่ชาวบ้านให้ทราบโดยทั่วกัน เมื่อถึงวันทอดกฐินก็จะมีการแห่กฐินมาทอดที่วัด และในบางวัดจะมีมหรสพในตอนกลางคืนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น